วัน
|
รูปแบบกิจกรรม
|
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ อุปกรณ์
|
จันทร์
|
มุมมองการคิด /ใคร่ครวญ
|
ฝึกการคิด รู้ตัว และเท่าทันอารมณ์ สามารถรับรู้และยอมรับในความคิดและมุมมองที่แตกต่างรู้จักใคร่ครวญตนเองเพื่อดำเนินชีวิตอย่างมีสติ
|
กิจกรรม : ความหมาย
ขั้นเตรียม
- ก่อนนั่งวงกลม ครูให้นักเรียนทุกคนหยิบปากกาแล้วมานั่งวงกลม/ครูเปิดเพลง สปาคลอเบาๆ
- ครูให้นักเรียนหลับตา กำกับสติ รับรู้ลมหายใจของตนเอง หายใจเข้ารับรู้ได้ว่าท้องยุบ หายใจออกรับรู้ได้ว่าท้องพอง ประมาณ 2 นาที
ขั้นกิจกรรม
- ครูให้นักเรียนดูภาพความหมายเร้าอารมณ์(ทุกข์, สุข)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นภาพนี้และรู้สึกอย่างไร นักเรียนคิดว่าผู้ถ่ายภาพนี้เขาจะสื่อหรือถ่ายทอดเรื่องราวอะไรจากภาพนี้”
- ครูแจกกระดาษ ครึ่ง A4 ให้นักเรียนโดยครูจะส่งกระดาษไปทางด้านซ้ายมือของครูแล้วนักเรียนคนที่รับกระดาษจะรับไหว้ด้วยความนอบน้อม พร้อมกับวางกระดาษไว้ด้านหน้าของตนเอง แล้วส่งต่อกันไปเรื่อยๆจนถึงนักเรียนคนสุดท้าย (ในกรณีที่กระดาษเหลือนักเรียนคนสุดท้ายจะวางกระดาษที่เหลือทั้งหมดไว้ด้านหลังของตนเอง)
- ครู Empower ด้วยคำขอบคุณนักเรียนที่รับไหว้เพื่อนด้วยความนอบน้อม
- ครูให้นักเรียนเขียนถ่ายทอดคำถามลงในกระดาษ ประมาณ 5 นาที
- ครูให้นักเรียนคนแรกเริ่มถ่ายทอดเรื่องราวอย่างตั้งใจให้เพื่อนฟัง
ขั้นจบ ครู Empower ขอบคุณทุกความตั้งใจ |
- เพลงสปา
- รูปภาพ เร้าอารมณ์
- กระดาษครึ่ง A4
|
อังคาร
|
การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีสติ (รำกระบอง)
|
- ฝึกสติและสมาธิไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวร่างกาย
- การบริหารร่างกายสร้างความยืดหยุ่นและความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ
|
กิจกรรม : โยคะ
ขั้นเตรียม :
- ครูนำกิจกรรมด้วยการให้นักเรียนยืนหลับตา กลับมาอยู่กับตัวเองมีสติ รับรู้ลมหายใจเข้า-ออก ตามจังหวะ
- นักเรียนยืดหยุ่นร่างกาย ผ่อนคลายส่วนต่างๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้คลายตัว ปลอดภัยอวัยวะในการฝึกโยคะ
ขั้นกิจกรรม :
- ครูนำกิจกรรมและพูดสร้างแรงให้เด็กเห็นคุณค่าของกิจกรรมโยคะ การฝึกปราณควบคุมจังหวะการเคลื่อนไหว ควบคุมหายใจออก-เข้า ทุกขณะจิต
- ครูนำกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย “โยคะ” ไร่เรียงจากจากทวงท่ายืน ไล่เรียงจนถึงท่านั่ง ผ่อนคลาย เคลื่อนไหว รับรู้ลมหายใจ
- กลับมาอยู่กับตัวเอง ครูพาผ่อนคลายอย่างมีสติ
ขั้นจบ :
- Empower, ขอบคุณกันและกัน
|
เพลงประกอบท่าโยคะ
|
พุธ
|
ศิลปะ ดนตรี
|
- ฝึกสติจดจ่อกับสิ่งที่ทำ สร้างสรรค์จินตนาการ ชื่นชมความงามและเห็นความหมายของบทเพลง ภาพวาดหรือชิ้นงานต่างๆ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงตัวเองกับผู้อื่นและสิ่งต่างๆรอบตัว
|
กิจกรรม : ขูดสี
ขั้นเตรียม:
- ครูและนักเรียนทักทาย เคารพซึ่งกันและกัน
- ทำสมาธิกลับมาอยู่กับตัวเองมีสติ รับรู้ลมหายใจเข้า-ออก ตามจังหวะ
ขั้นกิจกรรม:
- ครูเล่าความประทับใจในวัยเด็ก ให้นักเรียนฟัง
- ครูแสดงอุปกรณ์ให้นักเรียนสังเกต พร้อมเล่าเรื่องราวต่อ โดยบอกอยากเก็บความรู้สึกไว้นานๆ โดยการวาดลงบนกระดาษ
- สร้างข้อตกลง และแจกอุปกรณ์
- นักเรียนลงมือปฏิบัติ
- นักเรียนแสดงผลงานให้ครูและเพื่อนๆ ชื่นชม เก็บอุปกรณ์
ขั้นจบ:
- ครูสร้าง Empower โดยการชื่นชมและขอบคุณความตั้งใจ
- ครูและนักเรียนแสดงความเคารพซึ่งกันและกัน
| |
พฤหัสบดี
|
วรรณกรรม นิทาน เรื่องเล่า ประสบการณ์
|
ฝึกสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ได้ฟัง สามารถตีความหมายของคำและเรียงลำดับเรื่องราวต่างๆได้ มีมุมมองการคิดพร้อมทั้งพูดนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจ สามารถเชื่อมโยงตนเองกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างมีวิจารญาณ
|
กิจกรรม : คนเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน
ขั้นเตรียม:
- ครูและนักเรียนสวัสดีทักทายกัน
-
ขั้นกิจกรรม:
- ครูมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับคนที่มองตัวเองเทียบกับคนอื่น
- ครูสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่รู้จักเนลสันมาก่อร ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ”นักเรียนเห็นอะไร? ได้เรียนรู้อะไรกับชีวประวัติ และเชื่อมโยงกับตัวเราอย่างไร”
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความรู้สึก และเชื่อมโยงเข้ากับช่วงหนึ่งของชีวิตแต่ละคน
"นักเรียนคิดว่าตัวเรา อยากจะเป็น.. ในอนาคต" (ฝากให้คิดต่อ)
ขั้นจบ: ครูชื่นชมทุกความตั้งใจของนักเรียนทุกคน ขอบคุณซึ่งกันและกัน
|
เพลงสปา
เรื่องเล่าคนแบกเกี๊ยว
|
ศุกร์
|
วัสดุธรรมชาติ สื่อ อุปกรณ์ต่างๆ
|
ฝึกการสังเกต จดจ่อ รู้ตัว มองเห็นความสัมพันธ์และเชื่อมโยงตนเองกับสิ่งต่างๆ
|
ชื่อกิจกรรม : กิ่งไม้แห่ง กับชีวิต
ขั้นเตรียม:
- ครูและนักเรียนทักทาย เคารพซึ่งกันและกัน
ขั้นกิจกรรม:
- ครูให้นักเรียนสังเกตภาพ เกตภาพ กิ่งไม้ พร้อมตั้งคำถามกระตุนการคิด ในภาพมีอะไรที่เหมือนหรือต่างกันบ้าง เพราะเหตุใด
- ครูนำกระดาษวางไว้ที่กลางวง และแนะนำกิจกรรมเราจะคืนต้นไม้ให้ผืนดินถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้คำว่าอะไร อ่านคำนี้แล้วนึกถึงอะไรบ้าง?”
- นักเรียนติดใบไม้กิ่งไม้ พร้อมกับกล่าวขอบคุณหรือขอโทษต้นไม้
ขั้นจบ:
- ครูชื่นชมและขอบคุณความตั้งใจ
- ครูและนักเรียนแสดงความเคารพซึ่งกันและกัน
|
:
|
กิจกรรม : คนเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน
เป้าหมาย : เพื่อฝึกสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ได้ฟัง สามารถตีความหมายของคำและเรียงลำดับเรื่องราวต่างๆได้ มีมุมมองการคิดพร้อมทั้งพูดนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจ สามารถเชื่อมโยงตนเองกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างมีวิจารญาณ
- นักเรียนหลับตา กำกับสติ รับรู้ลมหายใจของตนเอง
ขั้นกิจกรรม:
หลังจากกิจกรรมเริ่มต้นเช้าวันใหม่อย่างมีความหมาย ครูป้อมพาพี่ ม.1 มาที่ลานตัวยู บริเวณสนามหน้าบ้านมัธยม
โดยให้ทุกคนยืนที่ลานตัวยู ก่อนที่ให้ทุกคนกลับหลังหัน
จากนั้นให้พี่ๆ ที่อยู่ด้านซ้ายมือครูป้อมนั่งลงที่พื้นสนาม ได้แก่ พี่ติ พี่ไอดิน พี่นัท พี่ซินดี้ พี่โจเซฟ พี่มิ้ลด์ พี่เพชร พี่บีทและพี่นัท
ส่วนพี่ๆ ที่อยู่ทางด้านขวามือของครูป้อมนั่งที่ม้านั่งท่อนไม้ ได้แก่ พี่คอป พี่ปุณ พี่อังอัง พีมายด์ พี่เพลง พี่บอล พี่ปังปอนด์
..ครูป้อมให้พี่ๆ หลับตากำหนดสติและรับรู้ลมหายใจของตนเอง เปิดประสาทสัมผัส รับรู้ความรู้สึกของแดดอ่อนๆและลมหนาว ฟังเสียงธรรมชาติรอบกายประมาณ 1 นาที ก่อนที่จะให้พี่ๆ สลับตำแหน่งกัน และนั่งเป็นวงกลมที่พื้นสนาม
ครูป้อมเล่านิทานเรื่อง "มหาดเล็กกับคนแบกเกี้ยว"
ซึ่งเป็นเรื่องราวของ "ชายหนุ่มสองคนเป็นเพื่อนสนิทกัน ทั้งสองมีโอกาสได้เข้าทำงานในวังคนหนึ่งพระราชาให้เป็นมหาเล็กส่วนอีกคนหนึ่งได้เป็นคนแบกเกี้ยว ซึ่งทำให้คนแบกเกี้ยวเกิดความน้อยใจเป็นอย่างมาก อยู่มาวันหนึ่งพระราชาออกไปนอกวังและข้ามสะพานที่มีสุนัขแม่ลูกอ่อนอาศัยอยู่ พระราชาจึงให้คนแบกเกี้ยวไปดูว่าใต้สะพานมีอะไร คนแบกเกี้ยววิ่งไปดูแล้วกลับมาบอกว่า มีลูสุนัขเกิดใหม่พะยะค่ะ พระราชา แล้วเกิดทั้งหมดกี่ตัวล่ะ คนแบกเกี้ยววิ่งกลับไปดูใหม่แล้วกลับมาบอกว่า 7 ตัวพะยะค่ะ พระราชา แล้วเป็นตัวผู้หรือตัวเมียล่ะ คนแบกเกี้ยววิ่งกลับไปดูใหม่แล้วกลับมาบอกว่า ตัวผู้ 5 ตัวเมีย2 พระราชา แล้วมันสีอะไรล่ะ คนแบกเกี้ยววิ่งกลับไปดูใหม่แล้วกลับมาบอกว่า ดำ 5 ขาว 2 ทันใดนั้น มีมหาดเล็ก เดินมาพอดี พระราชาจึง สั่งให้มหาดเล็กไปดูบ้าง ด้วยคำถามเดียวกัน ไปลองดูหน่อยว่าเกิดอะไร ขึ้นมหาดเล็กวิ่งไปดูแล้วกลับมาบอกว่ามีลูกสุนัขเกิดใหม่พะยะค่ะมีทั้งหมด 7 ตัว เป็นตัวผู้ 5 ตัว ตัวเมีย 2 ตัว เป็นสีดำ 5 ตัว สีขาว 2 ตัว ตัวสีขาว 2 ตัวน่ารักมากเลยพะย่ะค่ะ"
เมื่อเล่าจบครูป้อมใช้คำถามกระตุ้นความคิดว่า "รู้สึกอย่างไรกับนิทานเรื่องนี้ครับ"
ซึ่งพี่ๆ ได้ร่วมกันแสดงความเห็นได้อย่างน่าสนใจ
อาทิเช่น
พี่ติ : เห็นความไม่เท่าเทียมกันของมหาดเล็กและคนแบกเกี้ยว พี่ไอดิน : รู้สึกว่าคนทั้งคนแบกเกี้ยวทำงานหลายครั้ง
ขั้นจบ: ครูชื่นชมทุกความตั้งใจของนักเรียนทุกคน ขอบคุณซึ่งกันและกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น